บทความ

5 วิธีการออกแบบ “แพคเกจจิ้ง” ให้เป็นมากกว่าแพคเกจจิ้ง

การออกแบบแพคเกจจิ้ง

จะดีแค่ไหน ถ้าการออกแบบแพคเกจจิ้งทำให้เราเราสามารถ ออกแบบแพคเกจจิ้ง ให้มีประโยชน์และเป็นมากกว่าแพคเกจจิ้งได้  แม้ว่าหน้าที่หลักของแพคเกจจิ้งคือการปกป้องสินค้า แต่ว่าในอีกแง่มุมคือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและประสบการณ์ที่ลูกค้าสัมผัสได้ให้กับแบรนด์ของเรา

วันนี้เราจะมานำเสนอ 5 แนวคิดวิธีการออกแบบแพคเกจจิ้งให้เป็นได้มากกว่าการปกป้องสินค้า แต่ยังเป็นมากกว่าแพคเกจจิ้ง ทั้งในแง่ประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น และการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมตัวอย่างไอเดียดีๆจากแบรนด์ที่ออกแบบแพคเกจจิ้งได้อย่างสร้างสรรค์

1. Less is More

น้อยแต่มาก แนวคิดจากออกแบบสินค้าที่ใช้วัสดุในการทำแพคเกจจิ้งให้น้อยลง แต่เพิ่มประโยชน์การใช้สอยให้มากขึ้น เป็นแนวคิดง่ายๆ ที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความใส่ใจลูกค้ามากขึ้น

ตัวอย่างเช่น allbirds shoes

Brand รองเท้าที่ออกแบบกล่องรองเท้าภายใต้แนวคิด from store to home เป็นกล่องที่วางในร้านก็ได้ วางในบ้านก็ดี เพราะโดยตามพฤติกรรมคนส่วนใหญ่เวลาซื้อรองเท้ามักจะมีกล่องรองเท้าที่ได้มาตอนซื้อ และมีกล่องพลาสติกสำหรับเก็บรองเท้าในบ้าน ยิ่งสั่งซื้อออนไลน์เราก็จะได้กล่องไปรษณีย์ ที่ใส่กล้องรองเท้าของเราอีกทีด้วย

ALLBIRDS SHOES มีการออกแบบกล่องใส่รองเท้าที่จบครบในกล่องเดียวไปเลย มีทั้งความทนทานสามารถเป็นกล่องพัสดุในตัวได้เลย และยังสามารถวางในบ้านแล้วหยิบรองเท้าออกมาใส่ได้อย่างสะดวก และประหยัดเนื้อที่ เรียกได้ว่า LESS IS MORE ที่ลดความจัดจ้านของ แพคเกจจิ้ง ให้น้อยลง แต่เพิ่มประโยชน์ใช้สอยได้มากขึ้นอย่างทวีคูณเลยทีเดียว

2. Designing the best garbage

ถึงแม้ว่าจะหมดหน้าที่ของแพคเกจจิ้งแล้วจะต้องกลายเป็นขยะ แต่อย่างน้อยก็ต้องเป็นขยะที่ดี ขยะที่ดีในที่นี่หมายถึง ขยะที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสภาวะแวดล้อมต่างๆบนโลกใบนี้ เป็นแนวคิดที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมโลกทุกชีวิต

ยกตัวอย่างเช่น Pangea organics

brands สบู่ที่ภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นสบู่ออแกนนิคจากธรรมชาติ ด้วยการออกแบบแพคเกจจิ้งที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ โดยใส่เมล็ดพันธุ์เล็กๆไว้ในแพคเกจจิ้ง พร้อมกระดาษที่ย่อยสลายได้ เพื่อที่เวลาเรานำสบู่ออกมาใช้แล้ว ก็สามารถฝังแพคเกจจิ้งลงไปในดินปลูกเป็นต้นไม้ได้อีกด้วย

3. ONE MAN’S TRASH IS ANOTHER MAN’S LUXE RUM BOTTLE

ขยะของเขา คือ แพคเกจจิ้ง ของเรา การนำวัสดุเหลือใช้จากแบรนด์อื่นมาผลิตใหม่เพื่อให้กลายเป็นแพคเกจจิ้งของเรา ถือว่าเป็นแนวคิดการรีไซเคิลที่น่าสนใจมากๆ เพราะสิ่งที่ไม่มีค่าแล้วของบางคนอาจมีค่าสำหรับคนอื่นอยู่

ยกตัวอย่างเช่น Fitzroy

brand ผลิตเหล้ารัมที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ขวดใส่เหล้ารัมของตัวเองด้วยการ reuse/RECYCLE เช่น จุกฝาปิดขวดนั้นทำมาจากฉลากพลาสติกบนขวด Coca-cola ที่นำมาหลอมละลายลงบล็อกใหม่จนกลายเป็นฝาขวดเหล้าดีไซน์เก๋ๆแบบนี้ ตัวแก้วของขวดก็ทำมาจากแก้วรีไซเคิล และแบรนด์ก็ยังมีนโยบายให้ refill เหล้าในขวดเดิมด้วยราคาที่ถูกลงอีกด้วย

4. INNOVATIVE MATERIAL CHOICES

สร้างนวัตกรรมวัสดุใหม่ คือการแสดงถึงความก้าวหน้าของแบรนด์ไปอีกขั้น ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมวัสดุสำหรับแพคเกจจิ้ง ใหม่ซะเลย

ยกตัวอย่างเช่น Ecovative โรงงานที่ผลิตกล่องใส่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีเนื้อคล้ายโฟม แต่เชื่อหรือไม่ว่ามันผลิตมาจากจุลินซีย์ทางชีวภาพที่อัดแน่นจนกลายเป็นของแข็ง โดยที่มีความแข็งแรงและทนทานสุดๆ

อีกหนึ่งตัวอย่างคือ Watersphere ลูกบอลน้ำที่เราสามารถหยิบแล้วกินได้เป็นคำๆทั้งหมด เพราะตัวที่หุ้มน้ำอยู่คือสาหร่ายชนิดนึงที่ทานได้และไม่มีรสชาติ เป็นแพคเกจจิ้งที่กินได้ไปพร้อมๆกับน้ำเลย

5. REUSE, REFILL, OR SHARE

แน่นอนว่ามีแบรนด์จำนวนมากมายที่หันมาเริ่มใช้วิธี REFILL สินค้าของตัวเองโดยใช้แพคเกจจิ้งเดิมได้ แต่ละแบรนด์จะมีวิธี REFILL, REUSE สุดสร้างสรรค์อย่างไรขึ้นอยู่กับตัวแบรนด์เอง

ไอเดียของเครื่องสำอางยี่ห้อ Kjaer Weis ที่มาพร้อมกับการที่เราสามารถ REFILL แป้ง ลิปติก หรือ eyeshadow ได้เหมือนที่ใครๆก็ทำกัน แต่ทีเด็ดอยู่ตรงที่แบรนด์ Kjaer Weis กลับเข้าใจผู้หญิง ว่าน้อยคนนักที่จะใช้ ลิปติก แป้ง เครื่องสำอางตัวเองจนหมดแล้วมา REFILL

Kjaer Weis เลยจัดให้ผู้หญิงที่ซื้อเครื่องสำอางของตนสามารถมา REFILL ของตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องรอให้ของเดิมหมด และถ้ามีสีใหม่ออกมาคุณก็แค่เอาสีเก่ามาแลกก็จะได้สีใหม่ไปเลยยย

ทั้ง 5 ข้อนับว่าเป็นไอเดียน่าสนใจที่คุณสามารถนำแนวคิดมาปรับใช้กับแพคเกจจิ้งของคุณได้ ถ้าคุณกำลังคิดอยากทำแบรนด์หรือทำแพตเกจจิ้งใหม่ อย่าลืมมาปรึกษา LocoPack ดูก่อนนะครับ เรารับผลิตกล่อง รับออกแบบบรรจุภัณฑ์ ช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่น มีภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อยอดขายที่เติบโตเพิ่มมากขึ้นครับ

 

คุณประโยชน์ของการออกแบบแพคเกจจิ้ง

ปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กร ให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจนจากคู่แข่ง  สะดุดตา และง่ายต่อการจดจำ
สร้างเอกลักษณ์สินค้า ให้เกิดสัมผัสlและการรับรู้ที่ดีต่อองค์กรผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์
รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และส่วนอื่นที่เกี่ยวกับการออกแบบ สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  พัฒนาผลิตภัณฑ์เดิม ให้เกิดประโยชน์ใช้สอยที่ดีขึ้นทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ
เพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น เพื่อนำปาสู่การเพิ่มราคาสินค้าได้
ลดต้นทุนเพิ่มผลกำไร เช่น ออกแบบแพคเกจจิ้งให้ผลิตง่าย ลดขั้นตอน เลือกใช้วัสดุภายในประเทศ ฯลฯ
ขยายตลาดสินค้า เช่น สร้างผลิตภัณฑ์ที่สนองประโยชน์ใช้สอยใหม่ สร้างความต้องการใหม่ สร้างตลาดกลุ่มป้าหมายใหม่

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ดี
ความแปลกใหม่(Innovative) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ซ้ำซาก มีการนำเสนอความแปลกใหม่ในด้านต่างๆ เช่น ประโยชน์ใช้สอยที่ต่างจากเดิม รูปแบบใหม่ วัสดุใหม่ หรืออื่นๆ ที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการของผู้บริโภคในตลาดนั้น

มีที่มา(Story) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประวัติ มีที่มาหรือ เล่าเรื่องได้ไม่ว่าจะเป็นต้นกำเนิด ความคิดรวบยอดของการออกแบบให้ผู้บริโภคทราบถึงเรื่องราวเหล่านั้นได้ เช่น นาฬิกาของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวถึงต้นกำเนิดมาจากงานช่างฝีมือในหมู่บ้านที่เก่าแก่หมู่บ้านหนึ่งที่มีการสืบทอดกันต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น

ระยะเวลาเหมาะสม(Timing) การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดนั้นเหมาะสมตามฤดูกาล หรือตามความจำเป็น หรือเหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เสื้อกันฝนหรือร่ม ก็ควรจะออกสู่ตลาดช่วงฤดูฝน ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าชุดนักเรียนก็ควรออกสู่ตลาดช่วงฤดูกาลก่อนเปิดภาคเรียน เป็นต้น

ราคาพอสมควร (Price) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาขายเหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดนั้น โดยอาศัยการศึกษาวิจัยกลุ่มผู้บริโภคให้ได้ข้อมูลก่อนทำการออกแบบและผลิต

มีข้อมูลข่าวสาร (Information) ข้อมูลข่าวสารของตัวผลิตภัณฑ์ควรจะสื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบ และเข้าใจอย่างถูกต้องในด้านประโยชน์และวิธีการใช้งาน เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรและผลิตภัณฑ์

เป็นที่ยอมรับ (Regional acceptance) ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีความแข็งแรง คงทนต่อสภาพการใช้งาน หรือมีอายุการใช้งานที่เหมาะสมกับลักษณะของผลิตภัณฑ์และราคาที่จำหน่าย

ลองดูตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบแพคเกจจิ้งอย่างสวยงาม ถูกใจผู้ใช้ครับ

Credit: thedieline.com